• Language
    • Thai TH
    • USA EN
    • USA KH
    • USA LA
    • USA MM
    • USA VN
    • USA JP
    • USA CN
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ 46129
  • RICCO AND ASSOCIATES CO., LTD.
  • บริษัท ริคโค้ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด
  • บริษัท ริคโค้ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด
  • บริษัท ริคโค้ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด
  • บริษัท ริคโค้ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด

ติดต่อเรา:
สายด่วนได้ที่: +66 89 765 6056

พื้นPolyurethane กับ พื้น Epoxy มีความแตกต่างกันอย่างไร

พื้นPolyurethane coating

พื้นPolyurethane กับ พื้น Epoxy มีความแตกต่างกันอย่างไร

ทำความรู้จัก พื้นPolyurethane

               พื้นPolyurethane หรือ พื้น PU   หรือในอีกชื่อหนึ่งคือระบบการเคลือบพื้นด้วยโพลียูรีเทรน จัดเป็นสารเคมีที่ถูกออกแบบให้เข้ากับพื้นหลากหลายชนิดตามจุดประสงค์การใช้ ตัวอย่างเช่นพื้นโรงงานอุตสาหกรรม พื้นในอุตสาหกรรมอาหาร พื้นในอุตสาหกรรมยา พื้นในห้องเย็น รวมไปถึง พื้นที่ในอุตสาหกรรมที่อยู่ในสภาวะเปียกหรือแห้งอยู่ตลอดเวลา พื้น Polyurethane นั้นมีคุณสมบัติที่ทนต่อสารเคมีจำพวก กรดอินทรีย์ กรดเกลือ ด่าง ทั้งยังสามารถทนทานต่อแรงกระแทกต่างๆได้เป็นอย่างดี สามารถทนต่อรอยขีดข่วน ทนต่อสภาวะอุณหภูมิที่แตกต่าง พื้นPolyurethane ยังมีคุณสมบัติในการยังยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราได้ ถือเป็นสีเคลือบพื้นที่มีคุณภาพสูงและสามารถใช้งานได้ทั้งภายใน ภายนอกของอาคารได้โดยไม่มีการเสื่อมสภาพ สีไม่มีซีดจางและไม่เหลือง พื้นพียูโคทติ้งนี้ จะมีสีให้เลือกหลากหลายตามความต้องการของลูกค้า และยังมีให้พื้นผิวให้เลือกอีกหลากหลายแบบ คือ แบบเงา แบบด้าน หรือกึ่งเงา กึ่งด้าน เป็นสีประเภทโพลียูรีเทน ชนิด 2 ส่วนผสมกัน มีคุณสมบัติทนทานต่อการกัดกร่อนของมลภาวะและสารเคมีได้ดีเยี่ยม เหมาะสำหรับใช้งานภายนอกและภายในอาคารที่มีสภาวะแวดล้อมการกัดกร่อนสูง เหมาะสำหรับงานพื้นและผนังที่อยู่ภายนอกและมีการกัดกร่อนสูงจากสภาวะแวดล้อมที่รุนแรง

คุณสมบัติของพื้นPolyurethane

  • เรียบ ไร้รอยต่อ ทำความสะอาดง่าย
  • ป้องกันน้ำ หรือน้ำมันซึมผ่าน
  • ป้องกันการกัดกร่อนจากสารเคมี
  • ป้องกันการเกิดฝุ่นละออง
  • ป้องกันการเกิดเชื้อรา และแบคทีเรีย
  • ทนทานต่ออุณหภูมิร้อน และเย็นได้ดี
  • ทนทานต่อความชื้นได้ดี ไม่เกิดการโป่งพอง
  • ทนแสงแดด ใช้งานกับพื้นที่ภายนอกอาคารได้
  • หลังทาแห้งเร็วภายใน24ชม.

ประเภทของพื้นPolyurethane  มีแบบไหนบ้าง?

               พื้นPolyurethane แบ่งออกได้ 4 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน

1.พื้น PU Polyurethane Heavy Duty Floor (PU-HF) จัดเป็นพื้น PU ชนิดที่แข็งแรงทนทานพิเศษ ผิวหน้าหยาบ มีคุณสมบัติที่สามารถทนทานอุณหภูมิได้ตั้งแต่ระดับเย็นต่ำไปจนถึงความร้อนสูง เหมาะกับพื้นบริเวณที่มีความเปียกชื้น อย่างเช่นพื้นห้องครัว พื้นห้องเย็นอุณหภูมิติดลบสามารถระงับการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้ดี ไร้รอยต่อ ช่วย ปรับระดับพื้นคอนกรีต ทั้งยังทนทานต่อน้ำหนักได้มากถึง 5 ตันขึ้นไป สามารถทำความหนาได้ถึง 5.0 - 12.0 mm.

2.พื้น PU Polyurethane Medium Duty Floor (PU-MF) จัดเป็นพื้น PU ชนิดที่แข็งแรงอยู่ในระดับปานกลาง ผิวจะเรียบเนียน นิยมใช้กับบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมอุณหภูมิต่ำ และ สูงระดับปานกลาง สามารถทนทานต่อแรงกดทับได้ในระดับ 3 - 4 ตัน ทั้งยังสามารถช่วยปรับพื้นให้เรียบ ไร้รอยต่อ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา แบคทีเรียได้ดี สามารถทำความหนาได้ถึง 3.0 - 4.0 mm.

3.พื้น PU Polyurethane Self-Leveling (PU-LF) จัดเป็นพื้น PU ชนิดแบบบาง แต่ยังคงคุณสมบัติทนทานต่อกรดด่าง สารเคมีตัวทำละลาย ทินเนอร์ รวมไปถึงความชื้นได้เป็นอย่างดี ช่วยปรับระดับของพื้นคอนกรีตให้เรียบเนียนไร้รอยต่อ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี สามารถทำความหน้าได้ที่ขนาด 1.5 - 2 มิลลิเมตร

4.พื้น PU coating (พื้น พียูแบบกลิ้ง) จัดเป็นพื้นที่ ราคาถูกที่สุดในประเภทพื้น PU นิยมใช้กับพื้นที่กลางแจ้ง ซึ่งจะมีความหนาเป็นไมครอน (Micron) pu coating นิยมใช้ในงานกลางแจ้งเพราะมีความทนทานต่อแส่ง UV สีไม่ซีดสามารถเลือกทั้งผิวด้านและผิวเงา ราคาสูงกว่า Epoxy Coating

พื้น Epoxy คืออะไร

               พื้น Epoxy  คือ พื้นที่ถูกเคลือบไปด้วยสี Epoxy ที่ถูกผสมเข้าด้วยกันด้วยอัตราส่วนที่เฉพาะเจาะจง 2 ส่วน ก่อให้เกิดการปฏิกิริยาทางเคมี ผสานกันเป็นร่างแหรวมเป็นผืนเดียวกัน ช่วยทำให้พื้นเรียบเรียน ไร้รอยต่อ พร้อมคุณสมบัติที่ทนต่อสารละลายจำพวก กรด-เบส ได้เป็นอย่างดี ป้องกันน้ำมัน ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับพื้น ทนทาน แข็งแรง กำจัดและป้องกันการเกิดของเชื้อรา แต่พื้น Epoxyนั้นไม่ถูกกับแสงแดด เมื่อโดนแสงแดดเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดความเหลืองและลดประสิทธิภาพในการทำงานของพื้น Epoxy ได้จึงเหมาะกับการใช้ในร่มในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

 พื้น Epoxy

ประเภทของพื้น Epoxy

1. พื้น Epoxy Coating จัดเป็นระบบพื้น Epoxy ที่ผ่านการทาเคลือบพื้นคอนกรีตด้วยการกลิ้ง มีคุณสมบัติป้องกันสารเคมี น้ำมัน และกรดเบสได้ดี มีสีสันที่สดใสเลือกได้หลากหลาย ดูแลรักษาทำความสะอาดง่าย สามารถทำความหนาของพื้นฟิล์มได้ถึง 300 - 1500 Microns

2. พื้น Epoxy Self-Leveling จัดเป็นระบบพื้น Epoxy ที่ใช้วิธีการเคลือบสีด้วยการปาด ฟิล์มสีสามารถปรับระดับความเรียบได้ด้วยตนเอง ไร้รอยต่อ สีสันสวยงาม สามารถรับน้ำหนักได้ดีความหนาอยู่ในระดับ 2 - 10 มิลลิเมตร

3. พื้น Epoxy Heavy Duty หรือ พื้น Epoxy Mortar จัดเป็นพื้น Epoxy ที่ถูกเคลือบด้วยสี Epoxy Self-Leveling ด้วยความหนาระดับ 5 มิลลิเมตรขึ้นไป จะสามารถดึงคุณสมบัติทนทานต่อแรงกดได้สูง สามารถปกป้องพื้นผิวด้วยความแข็งแรง ทนทาน ทนต่อรอยขีดข่วน ทนต่อตัวทำละลาย กรด-เบส และสารเคมีจำพวกน้ำมันได้ดี ทั้งยังทนต่ออุณหภูมิที่ต่ำและสูงได้ถึง -40 ถึง 70 องศาเซลเซียส

4. พื้น Epoxy Non-Slip หรือ พื้น Safety Floors คือการเคลือบด้วยพื้น Epoxy สำหรับป้องกันการลื่นไถลโดยเฉพาะ สามารถป้องกันการซึมของน้ำ น้ำมัน ทนทานต่อรอยขีดข่วน สวยงาม ช่วยลดโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่

5. พื้น Epoxy Glitter Floor เป็นพื้น Epoxy ที่ถูกผสมระหว่างสี Epoxy กับเกล็ดผง Glitter ช่วยสร้างคุณสมบัติเพิ่มสีสันให้กับพื้น Epoxy มีความโดดเด่น สวยงาม ทั้งยังคงคุณสมบัติทนทาน แข็งแรง ไร้รอยต่อ ยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี

 

พื้นPolyurethane กับ พื้น Epoxy มีความแตกต่างกันอย่างไร

                พื้นPolyurethane และ พื้น Epoxy จะมีคุณสมบัติที่เหมาะกับพื้นในอุตสาหกรรมต่างๆที่หลากหลายเหมือนกัน ด้วยคุณสมบัติที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับพื้น ทนทาน ไร้รอยต่อ ช่วยปกป้องพื้นคอนกรีต ทนต่อสารเคมี ไร้รอยต่อ แต่ก็ยังมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ที่เหมาะสมเช่นเดียวกัน โดยที่พื้นPolyurethane Coating นั้นมีคุณสมบัติทนทานต่อการกัดกร่อนของมลภาวะและสารเคมีได้อย่างดีเยี่ยม เหมาะสำหรับใช้งานภายนอกและภายในอาคารที่มีสภาวะแวดล้อมการกัดกร่อนสูง เพราะทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่มีการกัดกร่อนสูง ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้ในการติดตั้งสำหรับการเคลือบพื้นผิวที่บางและจะมีความหนาเป็นไมครอน (Micron) ด้วยประโยชน์ของการเคลือบพื้นด้วยPolyurethaneนั้น มีความนุ่มและยืดหยุ่นมากกว่า พื้น Epoxy จึงทำให้พื้นมีความทนทานต่อการรอยขีดข่วนและทนต่อแรงกระเเทกได้มากกว่านั้นเอง แต่พื้น Epoxyสามารถทนทานสารเคมีหนักจำพวก กรดฟิวริก ได้ดีกว่า พื้น Epoxy จะต้องอาศัยระยะเวลาที่เยอะกว่าในการเซตตัวเองให้แห้ง แต่พื้นPolyurethane Coating จะเซตตัว บ่ม และแห้งตัวเร็วกว่าภายใน 24 ชม. และเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหารและเหมาะกับพื้นที่เปียกหรือมีการล้างทำความสะอาดบ่อยๆแต่ Epoxy เหมาะกับพื้นที่แห้งไม่เปียกน้ำ สีของพื้นPolyurethane จะมีแบบชนิดสีด้านและกึ่งเงากึ่งด้าน เฉดสีจะมีให้เลือกน้อย ส่วนพื้นEpoxy จะมีชั้นฟิล์มเป็นแบบชนิดเงา สามารถเลือกสีได้หลากหลาย และยังสามารถทำสีตามสีต่างๆที่ต้องการได้ เราควรเลือกเสริมสร้างพื้นให้เหมาะสม เพราะไม่ว่าจะเป็นพื้นPolyurethane Coatingและพื้น Epoxy ก็มีคุณสมบัติที่มีจุดเด่นทั้งคู่ทั้งยังเหมาะกับพื้นในหลายๆอุตสาหกรรม

สนใจวัสดุเคลือบพื้นPolyurethane และวัสดุเคลือบพื้นEpoxy ต้อง Ricco

          บริษัท ริคโค้ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด เรามีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษสำหรับงานเคมีภัณฑ์สำหรับงานก่อสร้าง งานพื้นสนามกีฬา วัสดุยาแนวรอยต่อโครงสร้าง ระบบซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต บริการรถปั๊มคอนกรีต ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยเเละเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า เราพร้อมเสมอสำหรับการให้คำปรึกษาและแก้ไขทุกปัญหาเพื่อให้ลูกค้าได้รับสิ่งที่ดีที่สุดจากเรา ผ่านบริการต่างๆ ที่มักได้รับความนิยมสูงจากลูกค้าชั้นนำระดับประเทศ เช่น ระบบซ่อมแซมโครงสร้าง Epoxy InjectionPU Injection ซ่อมเเซมรอยเเตกร้าวคอนกรีต ระบบงานขัดพื้นความเรียบสูงด้วยระบบเลเซอร์ ระบบกันซึม ระบบเคลือบผิวหน้าด้วยโพลียูรีเทน ระบบเคลือบผิวหน้าด้วยวัสดุอีพ็อกซี่ เป็นต้น

  สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ricco.pagesthai.com www.ricco-associates.com  

------------------------------------------------------------------------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง
• ข้อดีของระบบเคลือบผิวหน้าด้วยวัสดุอีพ็อกซี่ ที่ผู้ประกอบการโรงงานเเละคลังสินค้าต้องรู้
• เพิ่มความเงางามให้พื้นโชว์รูมรถยนต์และลานจอดรถด้วย ระบบพื้นอีพ็อกซี่ Epoxy Self Leveling
• ระบบเคลือบผิวหน้าด้วยด้วยโพลียูรีเทน (Polyurethane) ดีอย่างไร